สายตายาวตามวัย

 



สาเหตุของสายตายาว

  • สายตายาวตามวัย มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป โดยปกติแล้ว รอบเลนส์ตาจะมีกล้ามเนื้อควบคุมรูปทรงเลนส์ตา  (Ciliary muscles) ให้โป่งหรือคลายตัว ซึ่งทำให้สามารถโฟกัสการมองเห็นได้หลายระยะ 
  • เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อ Ciliary muscles จะเสื่อมลง รวมถึงเลนส์แก้วตาอาจมีการแข็งตัว ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนระยะโฟกัสได้ ผลคือเลนส์ตาจะโป่งออกไม่ได้หรือได้น้อย จึงทำให้มองระยะใกล้ไม่ชัด

 

อาการ

  • มองระยะใกล้ไม่ชัด มองวัตถุเล็กๆ หรือตัวหนังสือเล็กๆไม่ได้
  • เวลาอ่านหนังสือต้องยืดออกสุดแขน
  • มีอาการปวดหัว มึนหัว 

การแก้ไข

  • การใส่แว่นตาด้วยเลนส์นูน 
  • การใส่เลนส์เสริมชนิดฝังในเลนส์ตา เช่น การใส่เลนส์ ICL (Implantable Collamer Lens)
  • ในผู้ที่มีสายตาสั้นและสายตายาวตามวัย สามารถรักษาด้วยวิธี Presby MAX เพื่อรักษาสายตาสั้นและสายตายาวตามวัยไปพร้อมกัน

 

หลายท่านอาจเข้าใจว่า  หากตอนวัยรุ่นหรือตอนเด็กมีสายตาสั้นแล้ว พออายุมากขึ้น สายตาสั้นจะหายไปเพราะมีสายตายาวเข้ามาแทน ในความเป็นจริง สายตาสั้นและยาวนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุที่ต่างกัน ดังนั้น หากไม่ได้รักษาสายตาสั้น ท่านจะมีอาการทั้งสายตาสั้นและสายตายาวตามวัยพร้อมกันได้